วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีโทรคมนาคม

ความหมายของเทคโนโลยีโทรคมนาคม


โทร แปลว่า ไกล
คมนาคม แปลว่า การสื่อสาร
โทรคมนาคม (Telecommunication)
หมายถึงการสื่อสารระยะใกล้และไกล โดยการรับส่งสัญญาณเสียง ข้อความและภาพ ผ่านสื่อสัญญาณทางสายหรือไร้สายด้วยระบบแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งอาจเป็นไฟฟ้า แสง หรือวิธีอื่นองค์ประกอบขั้นพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล

1) ผู้ส่งสาร (Transmitter) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในการสื่อสาร เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ เครื่องส่งรหัสมอส เป็นต้น

2) ผู้รับสาร (Receiver) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมา เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับวิทยุ เป็นต้น

3) ข้อมูล (Message) คือ สิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการส่งให้ผู้รับสาร รับทราบ เช่น ข้อความ ประกาศ รหัสลับ เป็นต้น

4) สัญญาณรบกวน (Noise) คือ สิ่งที่ทำให้เกิดการรบกวน ต่อระบบและข่าวสาร
5) สื่อ (Medium) คือ ตัวกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น อากาศ สายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ เป็นต้น
6) โปรโตคอล (Protocol) คือ กระบวนการ วิธีการ ประเภท หรือข้อกำหนดต่างๆ ที่ตกลงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับสารเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูล เช่น การเขียนจ่าหน้าซองจดหมาย การเข้ารหัสและการถอดรหัสข้อมูล การใช้ภาษาเดียวกัน
ใดที่ทำงานร่วมกัน เช่น โทรสาร ววิทยุติดตามตัว โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต วิทยุกระจายและโทรทัศน์ Remote Control เป็นต้น


องค์ประกอบพื้นฐานของระบบโทรคมนาคม
ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบด้วยกัน คือ

หน่วยส่งข้อมูล ------------------------ > หน่วยรับข้อมูล
ช่องทางการสื่อสารข้อมูล



1. หน่วยส่งข้อมูล เป็นหน่วยที่ต้องการแจ้งหรือส่งข้อมูลให้หน่วยื่อน ๆ ทราบ เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูล มีหน้าที่ส่งข้อมูลข่าวสาร อาจจะเป็นคน หรือวัตถุก็ได้
2. ช่องทางการสื่อสาร คือกระบวนการ ช่องทาง หรือสื่อใด ๆ ที่ทำให้ข้อมูลสามารถส่งไปถึงหน่วยรับข้อมูลอย่างไม่ผิดพลาด เป็นสื่อสัญญาณทางสายหรือไร้สายก็ได้
3. หน่วยรับข้อมูล เป็นปลลายทางของการสื่อสารข้อมูลที่ทำหน้าที่รับข้อมูลส่งมาผ่านช่องทางการสื่อสาร อาจจะเป็นคนหรือวัตถุก็ได้

ทิศทางการสื่อสารข้อมูล มี 3 ชนิดคือ
1. แบบทิศทางเดียว (Simplex หรือ One-Way) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ ระบบโทรทัศน์ การส่งอีเมล เป้นต้น
2. แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) ข้อมูลสามารถส่งสลับกันได้ทั้ง 2 ทิศทางโดยต้องผลัดกันส่งครั้งละทิศทางเท่านั้น เช่น วิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex หรือ Both-Way) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์ การChat Online

สัญญาณไฟฟ้าในระบบโทรคมนาคม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. สัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้าในลักษณะคลื่นต่อเนื่อง (Sine wave) สัญญาณไฟฟ้าที่จะใช้เนเสียง หรือรูปภาพ เช่น ระบบวิทยุ โทรศัพท์ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี
2. สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) เป็นสัญญาณไฟฟ้าในลักษณะไม่ต่อเนื่องเป็นระบบ 2 สภาวะ คือ สภาวะที่ไม่มีสัญญาณไฟฟ้าและมีสัญญาณไฟฟ้าโดยแทนสัญญาณข้อมูลด้วย "0" หรือ "1"

วัตถุประสงค์ของการนำการสื่อสารข้อมูลเข้ามาใช้ในองค์กร

วัตถุประสงค์ของการนำการสื่อสารข้อมูลเข้ามาใช้ในองค์กร
1. เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งข้อมูล
2. เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
3. เพื่อลดเวลาในการทำงาน
4. เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
5. เพื่อช่วยขยายการดำเนินงานขององค์กรให้ดีขึ้น
6. เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารองค์กรให้สะดวกมากขึ้น


องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล

1) ผู้ส่งสาร (Transmitter) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในการสื่อสาร เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ เครื่องส่งรหัสมอส เป็นต้น

2) ผู้รับสาร (Receiver) คือ สิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมา เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับวิทยุ เป็นต้น

3) ข้อมูล (Message) คือ สิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการส่งให้ผู้รับสาร รับทราบ เช่น ข้อความ ประกาศ รหัสลับ เป็นต้น

4) สัญญาณรบกวน (Noise) คือ สิ่งที่ทำให้เกิดการรบกวน ต่อระบบและข่าวสาร
5) สื่อ (Medium) คือ ตัวกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร เช่น อากาศ สายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ เป็นต้น
6) โปรโตคอล (Protocol) คือ กระบวนการ วิธีการ ประเภท หรือข้อกำหนดต่างๆ ที่ตกลงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับสารเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูล เช่น การเขียนจ่าหน้าซองจดหมาย การเข้ารหัสและการถอดรหัสข้อมูล การใช้ภาษาเดียวกัน


แบบทิศทางเดียว (Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทาง โดยไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ หรือโทรทัศน์

แบบสองทิศทาง(Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อมๆ กันได้ทั้ง 2 ทิศทางอย่างอิสระ ตัวอย่างเช่น ระบบโทรศัพท์





ภาพ บอร์ดผลงานที่นำเสนอ



ภาพขณะนำเสนอ